สมบัติของแก๊ส
1. แก๊สมีรูปร่างและปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างและปริมาตรตามภาชนะนั้น เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊ส
สามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
สามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดัน
และจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ
ความดัน และจำนวนโมลด้วย เช่น
แก๊สออกซิเจน 1 โมล มีปริมาตร 22.4 dm3
แก๊สออกซิเจน 1 โมล มีปริมาตร 22.4 dm3
3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลวและของแข็งมาก
4. แก๊สสามารถแพร่ได้ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
5. แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเนื้อเดียวหรือเป็นสารละลาย
6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน แต่อาจมีแก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีนมีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซนบริสุทธิ์มีสีน้ำเงิน
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น